วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2551

ต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
ระดับครัวเรือน
บทที่ ๑ บทนำ


“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส ให้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตแก้พสกนิกรชาวไทยตลอดมายาวนานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ และภายหลังเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจก็ได้ทรงเน้นเพื่อเป็นแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่ชี้ให้เห็นแนวทางในการดำรงอยู่ และการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ โดยกระทำควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัฒน์
ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อผลกระทบ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในครอบครัวโดยอาศัยความรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง ในการนำความรู้ ประสบการณ์ต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการในทุกขั้นตอน การเสริมสร้างจิตใจในคนให้มีจิตสำนึกในคุณธรรม ความซื้อสัตย์สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ ซึ่งจากแนวทางการวิเคราะห์เศรษฐกิจพอเพียง ถ้าวิเคราะห์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 คือ
ความมีเหตุผล ( รู้เหตุ รู้ผล )
ความพอประมาณ ( รู้ตน รู้ประมาณ )
มีภูมิคุ้มกันที่ดี ( รู้กาล รู้บุคคล รู้ ชุมชน )

ที่มาและความสำคัญของปัญหา
จากการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ ๑ – ๘ ( พ.ศ. ๒๕๐๔– ๒๕๔๐) ที่ยึดหลักการและแนวทางการพัฒนาประเทศตามแบบอารยธรรมตะวันตก ที่เน้นรายได้ของประชากรเป็นหลัก มีการแข่งขันกันในเชิงรายได้ ทรัพย์สินใครมีมากก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นที่ยอมรับของสังคม ทำให้เกิดกระบวนการที่ทำทุกวิถีทางที่ต้องการให้เป็นที่ยอมรับของสังคมแม้กระทั่งใช้วิธีที่เรียกว่า”คอรัปชั่น” จนเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงทางการเงินระดับโลกที่เรียกว่า “วิกฤติเศรษฐกิจโลก” ไม่เว้นแม้กระทั่งประเทศไทย แต่ด้วยอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ที่ได้ดำเนินกิจกรรม ทดลอง และนำผลที่ได้นั้นมาให้คำแนะนำให้ประชากรของประเทศไทยอยู่ได้ภายใต้วิกฤติดังกล่าว ภายใต้การดำเนินชีวิตประจำวันที่เรียกว่า “พอเพียง” ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๗ “...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งใหม่ แต่เราอยู่อย่างพอมีพอกินและขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ ช่วยกันรักษาส่วนร่วมให้อยู่ที่พอสมควร ขอย้ำ พอควรพออยู่พอกิน มีความสงบไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้ไปจากเราได้...”และภายหลังเมื่อได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ก็ได้ทรงเน้นหลักการเศรษฐกิจพอเพียงอีกครั้ง เพื่อเป็นแนวทางการแก้ปัญหาวิกฤติของรัฐบาลในวันเฉลิมพระชนมพรรษาวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ “… เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy…คำว่า Sufficiency Economy นี้ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่…Sufficiency Economy นั้นไม่มีในตำราเพราะหมายความว่า เรามี ความคิดใหม่... Self-Sufficiency หมายความว่า ผลิตอะไร มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืม คนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง...เป็นไปตามที่เค้าเรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง...เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็มแต่คนส่วนมากมองไม่เห็น เสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป...” จากพระราชดำรัสดังกล่าวจึงเป็นการย้ำเตือนให้ระลึกถึงแนวทางในการดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับชาติ ตามหลักการ พอเพียง (ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดี) ภายใต้เงื่อนไขความรู้ และคุณธรรม ซึ่งได้มีหน่วยงานต่าง ทั้งภาครัฐ ฯ และภาคเอกชนนำมาใช้แก้ปัญหาวิกฤติที่เกิดขึ้น
แต่การดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่เริ่มต้น จากความต้องการของครัวเรือน ที่ใช้วิธีการจัดแบ่งรายจ่าย วางแผนคุณภาพชีวิต จะมีผลต่อคุณภาพชีวิตประจำวันอย่างไร

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๑ ทดลองดำเนินชีวิตการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงระดับครัวเรือนที่กำหนดขึ้น
๒ ประเมินคุณภาพชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่กำหนดขึ้น

ขอบเขตของการวิจัย
ครัวเรือนทดลอง : ครัวเรือนบ้านเลขที่ ๑๓๖ หมู่ที่ ๔ ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
แนวการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง : การดำเนินชีวิตประจำวัน โดยอาศัยความรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวัง ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม ช่วยเหลือเกื้อกูล รู้รักสามัคคี รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ซื่อสัตย์สุจริต ลด ละ เลิก สิ่งยั่วกิเลส พยายามรักษาและเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่ รวมทั้งเตรียมตัวในการที่จะรับผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
ระยะเวลา เดือน มกราคม ๒๕๕๑ – มีนาคม ๒๕๕๑

ข้อจำกัดในการวิจัย
ระยะเวลาที่ใช้ เดือน มกราคม ๒๕๕๑ – มีนาคม ๒๕๕๑
ครัวเรือนบ้านเลขที่ ๑๓๖ หมู่ที่ ๔ ตำบบลกำแพงเซา อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผลประโยชน์ของการวิจัย
๑. แนวทางการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงระดับครัวเรือน
๒. คุณภาพชีวิตในระดับครัวเรือนที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

นิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการ
ครัวเรือนทดลอง : ครัวเรือนบ้านเลขที่ ๑๓๖ หมู่ที่ ๔ ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ความพอเพียง : หมายถึงการดำเนินชีวิตตามแนวทางหรือหลักการ ดังนี้
ความพอประมาณ คำนึงถึงความพอดีไม่น้อยเกินไปไม่มากเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม สามัคคี รู้จักใช้และจัดการทรัพยากรอย่างฉลาด รอบคอบและมีความยั่งยืนสูงสุด ใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาจากภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างเหมาะสม ที่เป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อม และส่วนรวม ตามสมควรแห่งอัตตภาพและฐานะของตนเอง
ความมีเหตุผล คำนึงถึงสิ่งที่จะทำทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องและผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบโดยยึดความประหยัด ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีวิต ประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต ให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ที่จะเป็นเครื่องทำลายชีวิตตนเองและผู้อื่น พยายามรักษาและเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่
การมีภูมิคุ้มกันที่ดี คำนึงถึงการเตรียมตัวให้พร้อมในการที่จะรับผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
บทที่ ๒
ทบทวนวรรณกรรม
ความหมาย แนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) หมายถึงการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานความพอเพียงโดยยึดหลักความพอดี พอประมาณ ซื่อตรงไม่โลภมากและไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ทฤษฎี เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตในยุคโลกาภิวัฒน์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมีต่อ ผู้ที่เข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ความว่า“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มี สิ่งใหม่ แต่เราอยู่อย่างพอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ ช่วยกันรักษาส่วนร่วมให้อยู่ที่พอสมควร ขอย้ำพอควร พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้ไปจากเราได้...”
อำพล เสนาณรงค์ องค์มนตรี ได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงไว้ว่า เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงการดำรงชีวิตโดยพอมีพอกิน พยายามพึ่งตนเองให้มากที่สุด ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ไม่โลภมาก ไม่เบียดเบียนผู้อื่น พอใจในสิ่งที่มีอยู่และสิ่งที่ได้มาโดยชอบธรรม ไม่ก่อหนี้สินเกินตัวและหนี้สินที่ไม่ใช่การลงทุน และไม่มีรายได้กลับมา

ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ให้ความคิดเห็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไว้ว่า เศรษฐกิจ พอเพียงเป็นเพียงปรัชญาหรือแนวคิดหนึ่งเท่านั้น ที่นำมาใช้ในชีวิตในชีวิตประจำวันโดยมีหลักสำคัญ ๓ ประการ ดังนี้
๑. ความพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผลหรือสมเหตุสมผล
๓. การสร้างภูมิคุ้มกันในเรื่องต่าง ๆ ที่เราดำเนินการอยู่

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ให้ความคิดเห็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง โดยสรุป ดังนี้
๑. ทำอะไรต้องทำอย่างมีเหตุมีผล อย่าไปตามกระแส อย่าทำอะไรที่เกินความสามารถของตนเอง
๒. ทำอะไรก็ทำอะไรพอประมาณ ดูศักยภาพของเราก่อนว่าอยู่ตรงไหน มีจุดอ่อน จุดแข็งอะไรบ้าง และตรวจสอบสภาพแวดล้อมของเราว่าควรจะเอาอะไรมาเป็นที่ตั้งหรือเป็นฐาน
๓. ทำอะไรต้องมีภูมิคุ้มกัน จะทำอะไรให้นึกถึงวันพรุ่งนี้ว่าพรุ่งนี้มันไม่แน่ ต้องมีหลักประกันอยู่ตลอดเวลา ชีวิตเราต้องไม่พึ่งคนอื่นเขามากเกินไป จนกระทั่งมันขาดอิสระภาพไป โดยเฉพาะในการจะทำอะไรต้องยึดภูมิสังคมเป็นที่ตั้ง

คร. จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานกรรมการที่ปรึกษา “ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจ พอเพียง ได้ให้ความคิดเห็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงโดยสรุป ดังนี้
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการให้ความสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพและมั่นคงมากกว่าการเติบโตแบบรวดเร็วที่ปราศจากการควบคุม สิ่งสำคัญคือการบริหารเศรษฐกิจด้วยความรอบคอบ และการเข้าสู่การค้าแบบตลาดเสรีอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำกำไรอย่างยั่งยืนและยาวนาน ขณะเดียวกันต้องสร้างความเข้มแข็งในสังคม เพื่อเป็นภูมิคุ้มกัน ต่อผลกระทบทางด้านลบจากโลกาภิวัฒน์ด้วยหลักการ ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข โดย ๓ ห่วง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกัน และ ๒ เงื่อนไข คือ การใช้ความรู้ การมีคุณธรรม
โดยสรุปเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการดำรงชีวิตประจำวันภายใต้ความพอประมาณ (ไม่มาก ไม่น้อย ) ความมีเหตุผล (มีที่มา มีที่ไป อธิบายได้)และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี(เตรียมความพร้อม นเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น) ภายใต้เงื่อนไขความรู้ (รู้จริง รู้รอบ ) และคุณธรรม ( ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน) เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ โดยยึดภูมิสังคมเป็นที่ตั้ง โดยการดำเนินชีวิตและปฏิบัติตน ในแนวสายกลาง ๕ ประการ ดังนี้
๑. ปฏิบัติอย่างมีเหตุผล
๒. พัฒนาคุณภาพชีวิตที่เน้นองค์รวม มีความหลากหลายและกลมกลืน
๓. พัฒนาความรู้และปัญญาอย่างต่อเนื่อง
๔. มีจิตสำนึกในคุณธรรม คือไม่โลภ ไม่ฟุ้งเฟ้อ รู้จักพอ
๕. ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท รู้ความเปลี่ยนแปลงของโลก พึ่งตนเองได้

"เศรษฐกิจพอเพียง" จะสำเร็จได้ด้วย "ความพอดีของตน"


นโยบาย การดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้กระบวนการจำแนกรายจ่าย กำหนดรายการที่ควรจะปฏิบัติ ทำให้คุณภาพชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี มีความสุข ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก

ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากงานศึกษาวิจัยเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง จะเป็นเรื่องของการแก้ปัญหาของชุมชนที่ประสบปัญหาด้านต่างๆ โดยที่มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามาให้ความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นชุมชนคีรีวง ชุมชนบ้านไม้เรียง จังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมชนคลองเปี๊ยะ จังหวัดสงขลา ชุมชนบ้านหนองเรียง จังหวัดสุโขทัย ชุมชนบ้านลาดใต้ จังหวัดชัยภูมิฯลฯ ซึ่งไม่มีโครงการใดที่ทำขึ้นโดยที่ยังไม่มีปัญหา แต่เกิดขึ้นจากความคิดริเริ่มของครัวเรือน แต่อาจจะมีบางโครงการที่เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาแล้วมีผลต่อเศรษฐกิจของครัวเรือนตเกิดขึ้นตามมาหลังจากการพัฒนาในรูปแบบชุมชน ผู้ที่ดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงทุกครัวเรือนล้วนแต่เป็นผู้ที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม ภัยธรรมชาติร่วมกัน จึงจะร่วมมือกันแก้ปัญหาเพื่อความอยู่รอดของครอบครัว ซึ่งต้องรับการช่วยเหลือจากสมาชิกในชุมชน หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนจึงจะเห็นผลการแก้ปัญหานั้น ส่วนในภาคเกษตรนั้นครัวเรือนที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาวกฤติเศรษฐกิจก็เป็นครอบครัวที่มีพื้นที่มาก ตั้งแต่ ๕ ไร่ขึ้นไป จนถึง พัน ๆ ไร่
แต่การดำเนินชีวิตในสภาพครอบครัวที่มีพื้นที่น้อยหรือเกือบไม่มีเลย แต่มีรายได้ประจำ ไม่มีรายได้อื่นใดเสริม จะสามารถดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร และจะมีผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างไร

กรอบแนวคิด

พอประมาณ
ความมีเหตุผล คุณภาพชีวิตที่ดี
มีภูมิคุ้มกัน

สมมติฐานการวิจัย
การดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงจะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
บทที่ ๓
วิธีดำเนินการวิจัย
รูปแบบ

เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภายใต้กรอบเชิงปฏิบัติการ (Applied Participatory action Research : PAR) โดยผู้วิจัยได้นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทาง ประยุกต์เชิงปฏิบัติการใช้ในครัวเรือนของตนเอง จากสภาพความเป็นอยู่ที่อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่ต้องการที่จะศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินชีวิตประจำวันและความเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตหลังจากการวิจัยนี้เสร็จสิ้นตามที่กำหนด

วิธีการ
๑. ศึกษาข้อมูลแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
๒. กำหนดแนวทางการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
๓. จัดทำเครื่องมือในการกำหนดแนวทางดำเนินชีวิตประจำวันตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
๔. สรุปผลการดำเนินชีวิตตามข้อกำหนดประจำเดือน
๕. สรุปผลการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่กำหนดไว้

กลุ่มตัวอย่าง
ครัวเรือนบ้านเลขที่ ๑๓๖ หมู่ที่ ๔ ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

แผน/ขั้นตอนของการวิจัย
การดำเนินการศึกษาการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงข้าพเจ้าได้กำหนดขั้นตอนการศึกษา ดังนี้
๑ ศึกษาข้อมูลแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ต้นเดือนมกราคม ๒๕๕๑
๒ กำหนดแนวทางการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
กลางเดือนมกราคม ๒๕๕๑
๓ จัดทำเครื่องมือในการกำหนดแนวทางดำเนินชีวิตประจำวันตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
ปลายเดือนมกราคม ๒๕๕๑
๔ ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดไว้
๑ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดไว้

การสร้างและพัฒนาเครื่องมือ
การสร้างและพัฒนาเครื่องมือในการทดลองดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ได้ดำเนินการ ดังนี้
๑. ศึกษาความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางภายใต้กระบวนการเศรษฐกิจพอเพียง
๒. กำหนดรายละเอียดของตัวชี้วัดภายใต้แนวทาง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลและ มีภูมิคุ้มกันที่ดี
๓. กำหนดแนวปฏิบัติตามรายละเอียดของตัวชี้วัดความพอประมาณ ความมีเหตุผลและ มีภูมิคุ้มกันที่ดีโดยยึดหลักตามแนวภูมิสังคม
๔. นำรายละเอียดที่กำหนดมาจัดทำเป็นตารางการดำเนินชีวิตประจำวันภายใต้หลักเกณฑ์ ภูมิสังคม
๕. จัดทำแบบกำหนดสัดส่วนรายจ่ายประจำเดือน
๖. จัดทำแบบบันทึกรายจ่ายประจำเดือน
๗. จัดทำแบบสรุปรายจ่ายประจำเดือน
๘. สรุปรายงานผลการดำเนินชีวิตเชิงพรรณา ในหัวข้อเรื่องที่วิจัยถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในระดับครัวเรือนของครัวเรือนทดลอง


อนึ่งในการกำหนดรายละเอียดคุณภาพชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามข้อที่ 2 ภายใต้เงื่อนไขความพอประมาณ ความมีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันที่ดี ตามหัวข้อวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยกำหนด
กำหนดแนวปฏิบัติตามรายละเอียดของตัวชี้วัดความพอประมาณ ความมีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันที่ดีโดยยึดหลักตามแนวภูมิสังคมที่จะต้องทำในชีวิตประจำวันได้ดำเนินการ ดังนี้
๑. ปรึกษาร่วมกับสมาชิกในครอบครัวกำหนดรายจ่ายที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน
๒. กำหนดรายจ่ายหลักที่ต้องจ่ายแน่นอนเช่น ผ่อนจ่ายหนี้สิน
๓. กำหนดรายจ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
๔. กำหนดสัดส่วนรายจ่าย พร้อมทั้งจัดทำแบบฟอร์มกำหนดสัดส่วนของรายจ่าย
๕. จัดทำแบบบันทึกรายจ่ายประจำวัน
๖. จัดทำแบบกำหนดกิจกรรมในชีวิตประจำวันของตัวเอง(นายอุดม วิทยธาดา)
๗. จัดทำแบบสรุปผลการใช้จ่ายในครัวเรือนประจำเดือนที่สอดคล้องกับรายจ่ายท่กำหนดไว้
นำรายละเอียดที่กำหนดมาจัดทำเป็นตารางการดำเนินชีวิต
ประจำวันภายใต้หลักเกณฑ์ภูมิสังคม
ได้กำหนดสัดส่วนรายจ่ายประจำเดือน โดยกำหนดจากรายรับ ที่แน่นอน กับกำหนดราจ่ายที่ต้องจ่ายแน่นอนก่อน ส่วนรายจ่ายจร กำหนดตามความคาดคะแนจากการจ่ายโดยเคร่า ๆ ดังนี้
การจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล ในการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้จัดเก็บและรวบรวมข้อมูล ดังนี้
๑. จดบันทึกข้อมูลเป็นรายวัน จากแบบบันทึกรายจ่ายประจำวัน
๒. สรุปผลรายการจ่ายประจำเดือน ในแต่ละรายการตามที่กำหนดไว้ในรายการจ่าย
๓. สรุปข้อมูลรายจ่ายประจำเดือนเฉลี่ย ๒ เดือน
๔. สรุปผลการดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเชิงบรรยาย ตามรายข้อที่กำหนดไว้จากการจำแนกรายจ่าย

การเรียบเรียง ประมวลผล
การเรียบเรียงและประมวลผลจากการสรุปผลคุณภาพชีวิตจริงภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด เทียบกับข้อกำหนดที่กำหนดไว้ เชิงพรรณา
การนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูลใช้กระบวนการบรรยาย พร้อม PowerPoint

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
๑. แบบกำหนดสัดส่วนรายจ่าย
๒. แบบบันทึกรายจ่ายประจำวัน
๓. แบบกำหนดกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
๔. แบบสรุปข้อมูลรายเดือน
๕. แบบสรุปข้อมูลเฉลี่ย ๓ เดือน

การเก็บรวบรวมข้อมูล
เก็บข้อมูลด้วยตนเองตามเครื่องมือที่กำหนดไว้

การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ผลจากการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเชิงพรรณา

บรรณานุกรม

กองบรรณาธิการ. เศรษฐกิจพอเพียง. นิตยสาร POSITIONING. กรุงเทพฯ : 2550
ชอบ เข็มกลัด และโกวิทย์ พวงงาม. การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมเชิงประยุกต์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ : 2547
ธำรงค์ อุดมไพจิตรกุล. เศรษฐศาสร์พอเพียง. มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ, สำนักพิมพ์พัฒนาคุณภาพวิชาการ. กรุงเทพฯ : 2544
ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล. ชุมชนเข้มแข็ง. มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช) กรุงเทพฯ : 2549
ยุทธ ไกยวรรณ์. หลักการทำวิจัยและการทำวิทยานิพนธ์. ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ กรุงเทพฯ : 2550
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. ระเบียบวิธีการวิจัย. พิมพ์ดี การพิมพ์จำกัด กรุงเทพฯ : 2547
วัลลภ พรหมทอง. เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ. โรงพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ : 2544
เสรี พงศ์พิศ. แผนชีวิตเศรษฐกิจชุมชน. สำนักพิมพ์พลังปัญญา กรุงเทพฯ : 2548
. เศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนายั่งยืน. สำนักพิมพ์พลังปัญญา กรุงเทพฯ : 2549
. ร้อยคำที่ควรรู้. สำนักพิมพ์พลังปัญญา กรุงเทพฯ : 2547
อุดมพร อมรธรรม. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. สำนักพิมพ์แสงดาว กรุงเทพฯ : 2549

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

บทความที่สนใจ

การดำเนินกิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จะเกิดขึ้นจากการประสบวิกฤติภาวะต่าง ๆ ของกลุ่มชนหรือชุมชนร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม
ชุมชนคีรีวง ชุมชนบ้านไม้เรียง จังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมชนคลองเปี๊ยะ จังหวัดสงขลา ชุมชนบ้านหนองเรียง จังหวัดสุโขทัย ชุมชนบ้านลาดใต้ จังหวัดชัยภูมิ ฯลฯ
และบ้านที่เข้าร่วมโครงการนี้หรือโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ จะพบว่าจะต้องมีพื้นที่ทำกินอย่างน้อย ๕ ไร่ ถึงขนาดที่บางคนมีพื้นที่ถึง ๓,๐๐๐ ไร่ ก้ดำเนินการทำเกษตรแบบผสมผสาน และการดำเนินงานเหล่านั้น ต่างก็ต้องรับการกระตุ้น หรือช่วยเหลือจากทางภาครัฐเป็นเบื้องต้น จึงจะสามมารถพื้นฟูสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนั้นได้
แต่การดำเนินแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ที่พอจะมีรายได้ประจำ ไม่มีพื้นที่มากพอที่จะทำการเกษตรแบบผสสมผสานได้ ทำอย่างไรจึงจะสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขภายใต้สภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน และอาจจะเปลี่ยนแปลงไปในทางบวก หรือทางลบในอนาคต
ข้าพเจ้าจึงได้คิดแนวทางที่นำข้อมูลตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง อันมีความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันมาทดลองใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน โดยการควบคุมรายจ่าย โดยวิธีการจำแนกรายรับที่ได้มาแบ่งเป็นรายจ่ายที่เป็นสัดส่วน เพื่อศึกษาดูว่ารายจ่ายใดที่เกินไปจากที่คิดเอาไว้ รายจ่ายใดที่ยังเหลือ สามารถนำไปสมทบเป็นภูมิคุ้มกันในอนาคต และกำหนดแนวปฏิบัติเพื่อสร้างความสุขและภูมิคุ้มกันที่อาจจะเกิดขึ้นแก่สุขภาพร่างกาย โดยที่ไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ทดสอบ

ทดสอบการเขียนบทความ